วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

การติดตั้ง Adobe Photoshop CS4 Optional plug-ins

photoshop_art

ถ้าใครที่ใช้ Photoshop มาหลายๆ เวอร์ชัน น่าจะเคยใช้ Plugin เช่น Extract , Photomerge มาบ้าง แต่พอมาเวอร์ชัน CS4  Plugin เหล่านี้หายไป ทำให้เป็นที่พูดถึงกันพอสมควร Adobe จึงออกเป็น Plugin เสริม ให้ผู้ใช้ Download และติดตั้งเองได้เลย โดย Plugin ประกอบด้วย

  • Bigger Tiles
  • Picture Package (ContactSheetII)
  • ExtractPlus
  • PatternMaker
  • PhotomergeUI
  • Web Photo Gallery (WebContactSheetII) plus presets
  • script for Layer Comps to Web Photo Gallery
  • Texture presets for Texturizer

Windows :
http://www.adobe.com/support/downloads/product.jsp?product=39&platform=Windows

MAC :
http://www.adobe.com/support/downloads/product.jsp?product=39&platform=Macintosh

ขั้นตอนการติดตั้ง สำหรับ Window 

Step1 : ดับเบิ้ลคลิกไอคอน PHSPCS4_Cont_LS1.exe เพื่อแตกไฟล์ไว้ที่ Desktop

2010-03-15_173759

Step 2 : ดูไฟล์ในโฟลเดอร์ที่ได้

2010-03-15_175935

Step 3 : Copy ไฟล์ใส่ในโฟลเดอร์ ดังนี้

3.1 : Copy ไฟล์ใน Folder “Plug-ins 32-bit” ไว้ที่
C:\Program Files\Adobe\Adobe Photoshop CS4\Plug-ins ดังภาพ

copy_folder_to_01

3.2 : Copy ไฟล์ใน Folder “Presets” ไว้ที่
C:\Program Files\Adobe\Adobe Photoshop CS4\Presets ดังภาพ

copy_folder_to_02

3.3 : Copy ไฟล์ใน Folder “Bridge Startup Scripts” ไว้ที่
C:\Program Files\Common Files\Adobe\Startup Scripts CS4\Adobe Photoshop\Bridge Startup Scripts

2010-03-15_183819

จากนั้นก็ Restart โปรแกรม Photoshop ใช้งานได้ทันที สังเกตได้ว่าในเมนู Filter จะมีคำสั่ง Extract แล้ว

2010-03-15_184112

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

Blender 01 : ทำความเข้าใจ Interface

blender_spread
เมื่อเราเปิดโปรแกรม Blender สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจ ก็คือ Interface ซึ่งในเวอร์ชัน 2.49 นั้น Interface ก็ยังเป็นปราการด่านสำคัญที่ต้องข้ามไปให้ได้ เพราะโปรแกรม Opensource ส่วนมาก ยังไม่ปัญหาเรื่อง Interface ที่ใช้งานยากไปหน่อย แล้วยิ่งถ้ามือใหม่ หัดเล่น อาจจะมีถอดใจบ้างบ แต่ค่อยๆ เรียนรู้ไปครับ คุณจะมีทักษะและรู้สึกว่า มันไม่ยากอย่างที่คิด
02_interface
การทำความเข้าใจ Interface ผมว่า ในช่วงแรกเราทำความเข้าใจเท่าที่จำเป็นก่อนดีกว่า Interface ประกอบด้วย
1. Menu : แถบคำสั่งทั้งหมด ที่โปรแกรมมี โดยโปรแกรมแบ่งเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว เช่น File เป็นการจัดการเกี่ยวกับสร้างงาน    ใหม่ , เปิดเงานเก่า
2. 3D view : เป็นมุมมองวัตถุที่เป็น 3 มิติ คือ  XYZ 
( ต้องทำความเข้าใจแกนให้ดีเสียก่อน )
3. Header : แถบปุ่มคำสั่ง เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น
เช่น Move , Rotate , Scale , เลือกมุมมอง
4. Button : แถบปรับรายละเอียดวัตถุ ด้านล่าง ทั้งการจัดแสง ,
สร้างโมเดล , เรนเดอร์
5. Tool Shelf : เพิ่มในเวอร์ชัน 2.5 สำหรับเพิ่มปุ่มคำสั่งเอง เช่น คำสั่งที่ใช้บ่อยๆ ตามความต้องการ ทำให้ใช้งานสะดวกมากขึ้น


 การปรับแต่ง  Interface

เปิด/ปิด Tool Shelf
กด “ t “
03_tool_shelf
เปิด/ปิด Properties
กด “ n “
04_properties
ย่อ/ขยาย หน้าต่างเต็มจอ
กด “Ctrl + ลูกศรขึ้น/ลง“

* เมาส์ต้องอยู่ที่ View นั้นๆ
05_full_screen
สลับระหว่าง
1 view กับ 4 View  
กด “Ctrl + Alt + Q“
06_quad_view
เลือกมุมมองต่างๆ เช่น
Right กด “3”
Front กด “1”
Top กด “7”
Camera กด “0”
Persp/Ortho กด “5”

แนะนำว่าควรใช้ Keyboard ส่วนที่เป็น Numlock จะสะดวกกว่ามาก
07_view_top_left

การแบ่งช่องมุมมอง Split Area  และ รวมช่องมุมมอง Join Area

การแบ่งช่อง Split Area
คลิกที่มุม (สังเกตุ เส้นเฉียงๆ) คลิกค้าง แล้วลากออก โปรแกรมจะแบ่งช่องเพิ่มเติม
split_view
การรวมช่อง Join Area
คลิกที่มุมเส้นเฉียงเหมือนเดิม คลิกค้าง แล้วลากไปทิศทาง ช่อง View ที่ต้องการรวม จะมีลูกศรใหญ่ๆ ดังรูป
merge_view

การย้อน Interface กลับค่าเดิม

เมนู File > Load Factory Settings  สำหรับโหลดค่ามาตราฐานเดิมของโปรแกรม

load_factory_setting

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

รวม “FREE” Fonts ภาษาไทย ที่ไม่ควรพลาด!

ในการออกแบบงานกราฟิก Fonts ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้งานเราดูสวยงาม สื่อความหมายของงานได้ตรงเป้า ผมยังเคยมาว่า ”แค่ Fonts ดี งานก็สวยแล้ว” ซึ่งบริษัทหลายๆ เจ้า ที่ได้ออกแบบ Fonts สวยๆ มาจำหน่ายมากมาย เช่น DB หาดูได้จากนิตยสาร iDesign , PSL ที่เห็น Sony . AIS ใช้กันอยู่ประจำ เป็นต้น แต่ฟอนต์ยังมีราคาค่อนข้างแพงพอสมควร www.dbfonts.biz
www.fontpsl.com

แต่สำหรับอีกหลายๆ คนที่ไม่มีงบหา Fonts แพงๆ มาใช้ ผมเลยรวบรวมเว็บฟอนต์ ภาษาไทย ที่เค้าพัฒนาให้ใช้กันแบบ ฟรีๆ ซึ่งมีนักเรียนถามผมบ่อยว่า “ทำฟรีๆ ไปทำไม” ตอบง่ายๆ ครับ เพื่อพัฒนาวงการกราฟิกบ้านเรา เพราะถ้าทำอะไรก็ต้องซื้อไปเสียหมด ก็จะลำบากไม่น้อย

1. F0nt.com : ฟอนต์.คอม

ฟอนต์ส่วนมาก จะเป็นลายมือ และ ฟอนต์สนุกๆ ตามมุมมองของคนทำ ซึ่งเหมาะกับงานทั่วๆ ไป ไม่จริงจังมาก แต่บางฟอนต์ก็สวยเข้าขั้นดีเดียว

http://www.f0nt.com/

font

2. 13 ฟอนต์ฟรีมาตรฐาน จาก
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)

ออกแบบโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่ง ชาติ (องค์การมหาชน) ฟอนต์จะดูไทยๆ มีหลากหลายแบบ ทั้งตวัดเส้น กับไม่ตวัดเส้น ฟอรต์ดูทางการขึ้นมาอีกระดับ

ตอนนี้สามารถโหลดได้ที่เว็บฟอนต์.คอม เช่นกัน
http://www.f0nt.com/release/13-free-fonts-from-sipa/

3. Arundina (by SIPA)

เป็นฟอนต์ในโครงการเผยแพร่ฟอนต์ลิขสิทธิ์ จากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) เช่นกัน ผมพึ่งเจอไม่นาน ฟอนต์สวย น่าสนใจมาก …..

http://www.f0nt.com/release/arundina-by-sipa/

3. JS fonts (by SIPA)

เป็นฟอนต์เก่าที่นำมาปรับปรุงใหม่ ให้ใช้กับโปรแกรมใหม่ได้… เช่น Adobe CS3 ขึ้นไป รูปแบบหลายๆ ฟอนต์ ผมว่าหลายคนคุ้นเคย และน่าจะเคยใช้มากก่อน .. ใครยังไม่เคยลอง โหลดเลยครับ รับรองว่าไม่ผิดหวัง

ชมรมธุรกิจสิ่งพิมพ์ภาคเหนือ
Download JS Fonts

js_font

4.TF fonts สหพันธุ์อุตสาหกรรมการพิมพ์

ฟอนต์ล่าสุดที่ สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ร่วมกับ ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย จัดทำขึ้นมา ฟอนต์สวย มีฟังก์ชั่นเลขที่หน้าภาษาไทย เป็นฟอนต์ที่น่าสนใจมาก แต่เว็บที่ให้โหลดตอนนี้ปิดตัวไปแล้ว ผมขอเช็คข้อมูลดูก่อนว่าสามารถแจกจ่ายได้หรือไม่

tf_font

การ Reset ค่า Setting โปรแกรม Photoshop , Illustrator , InDesign

adobe_cs4_docklet

ผมเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยเจอปัญหา ใช้โปรแกรม Photoshop , Illustrator , InDesign แล้วโปรแกรม Error แต่พอเปิดใหม่แล้วโปรแกรมก็ไม่เหมือนเดิม หรือแสดงหน้าต่าง ไม่ครบ

ในเบื้องต้นเราสามารถ Reset ค่า Setting ต่างๆ ของโปรแกรมให้กลับไปเหมือนตอนที่ติดตั้งโปรแกรมใหม่ได้ โดยจะแยกออกเป็น Photoshop กับ InDesign และ Illustrator

Reset : Photoshop , InDesign

ตอนเปิดโปรแกรม ให้กด “ Ctlr + Alt + Shift “ ค้างไว้

key_reset

โปรแกรมจะขึ้นหน้าต่างให้เราลบค่า Setting ดังภาพ

reset_photoshop

Reset : Illustrator

ใน Illustrator จะยากกว่านิดหน่อย คือ ต้องไปลบ Folder ค่า Setting เอง

Step 1 : ปกติ Folder จะซ่อนไว้ เราต้องให้ Set ให้แสดงก่อน
ไปที่เมนู Tool > Folder Options เลือก Tab “View”

folder_option

Step 2 : ลบ Folder “ Adobe Illustrator CS4 Settings “
ที่ C:\Documents and Settings\Administrator\Application Data\Adobe

del_setting_illus

จากนั้นเปิดโปรแกรมใช้งานได้ตามปกติ ^^

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

มารู้จัก Format ไฟล์ภาพสกุลต่างๆ กันดีกว่า :)

รูปแบบและคุณสมบัติของสกุลไฟล์ภาพต่างๆ


BMP

เป็นพื้นฐานของรูปบิตแมปของซอฟต์แวร์บนวินโดวส์ ดังนั้น มันจึง สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมทุก ๆ โปรแกรมที่ทำงานภายใต้วินโดวส์ แต่ว่าไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับแพลตฟอร์มอื่น ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้กับแพลตฟอร์มอื่น เช่นแมคอินทอช หรือระบบอื่นๆ ได้ไฟล์แบบบิตแมปบนวินโดวส์คล้ายๆ กับของพรีเซนเตชันเมเนเจอร์ของโอเอส/ทู แต่ไม่เหมือนกันทีเดียวนัก

EPS

เป็นรูปแบบที่ใช้กับงานประเภท Desktop Publishing หรืองานเกี่ยวกับการจัดหน้า เช่น PageMaker โดยใช้กับเครื่องพิมพ์แบบ PostScript เท่านั้น ไฟล์ EPS นี้เมื่อนำมาย่อ-ขยาย จะไม่ทำให้ภาพสูญเสียความคมชัด เนื่องจากมีความละเอียดสูง

GIF

เป็นรูปแบบที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน ปัจจุบัน GIF ไฟล์มีสองเวอร์ชันด้วยกันคือ 87a และ 89a โดยที่เวอร์ชัน 87a เป็นรูปกราฟิก เพียงอย่างเดียว ขณะที่เวอร์ชัน 89a สามารถสนับสนุนการทำภาพเคลื่อนไหวได้ โดยการนำภาพหลายๆ ภาพมาเรียงต่อกันและ บรรจุอยู่ในไฟล์เดียวกัน จุดดีของ Gif คือ Interlaced ซึ่งเมื่อกราฟิกถูกโหลด จะแสดงภาพจากหยาบไปหาละเอียด ในขณะที่กราฟิกถูกโหลดมาทีละน้อยจนเสร็จสมบูรณ์ จึงทำให้ผู้ชมที่มี bandwidth ต่ำๆ สามารถเห็นภาพโดยรวมได้ก่อนที่ภาพจะ ถูกโหลดจนสมบูรณ์ จุดด้อยของ Gif คือ มันเป็นลิขสิทธิของบริษัท Compuserv กล่าวคือ บริษัทผู้ผลิต ซอร์ฟแวร์ จะใช้ได้จะต้องขออนุญาติและจ่ายค่าลิขสิทธิเพื่อใช้ Gif จึงทำให้มีผู้พัฒนาไฟล์รูปแบบ PNG ขึ้นใช้แทน
 

IFF

IFF (Amiga Interchange File Format)จะนำมาใช้กับงานวิดีโอและการถ่ายข้อมูลจาก Commodore Amiga system ยิ่งไปกว่านี้ยังสนับสนุนโปรแกรมตกแต่งภาพที่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป ด้วย

 

IMG

Windows, Mac โปรแกรม Desktop Publishing และโปรแกรมแก้ไขรูปภาพบางโปรแกรม เช่น Ventura Publisher, PageMaker, QuarkXPress 2, 16, 256 สี หรือ 16 ล้านสี แบบ RLE อย่างง่าย

JPG

JPEG เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในภาพประเภทภาพถ่าย (โทนสีต่อเนื่อง) เนื่องจากใช้สีทั้งสเปกตรัมสีที่มีในมอนิเตอร์ และเป็นไฟล์ประเภทที่ถูกบีบอัดให้เล็กลงเพื่อให้โหลดเร็วขึ้นเช่นเดียวกับ GIF โดยการตัดค่าสี ในช่วงที่ตามองไม่เห็นทิ้งไป แต่เมื่อบันทึกไฟล์เป็น JPEG แล้ว ข้อมูลสีที่ถูกตัดทิ้งไปจะไม่สามารถเรียกกลับมาได้อีก ถ้าต้องการใช้ค่าสีเหล่านั้นในอนาคต ควรจะบันทึกเป็นไฟล์ชนิดอื่น แล้วเปลี่ยนเป็นไฟล์ JPEG ด้วยการบันทึกเป็นไฟล์ก็อปปี้ ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมการแก้ไขภาพ Bitmap และโปรแกรมการแปลงรูปแบบ เช่น PhotoShop, CorelDRAW, PaintShop Pro, ACDSee 32 ความสามารถทางด้านสี 2, 16, 256 สี หรือ 16 ล้านสี และความลึกสีแบบ 32 บิต จุดดีของ JPG นอกจากความสามารถในการบีบอัดไฟล์แล้ว JPG มีคุณสมบัติของ Progress JPEG คือ เมื่อถูกโหลด จะแสดงภาพจากหยาบไปสู่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่กราฟิกถูกโหลดมาเรื่อยๆ จนเสร็จสมบูรณ์ (ลักษณะคล้ายกับ Interlaced GIF)
 

PCX

PCX เป็นรูปแบบไฟล์บิตแมปดั้งเดิมของโปรแกรมแก้ไขภาพบิตแมปชื่อ PC Paintbrush จาก Z-Soft ซึ่งมีให้ใช้บนพีซีมานานแล้วรูปแบบ PCX เป็นรูปแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับภาพบิตแมป โดยโปรแกรมกราฟิกส่วนใหญ่จะสนับสนุนรูปแบบ PCX
 

PGL

PGL โปรแกรม CAD, โปรแกรมแก้ไขไฟล์ Vector บางโปรแกรมและ Desktop Publishing เช่น AutoCAD, CorelDRAW

PIC

PICT (.pic) เป็นรูปแบบมาตราฐานในการบันทึกภาพแบบ 32 บิตของ Macintosh แสดงผลสีได้ระดับ 16.7 ล้านสี สามารถบีบอัดข้อมูลภาพได้เช่นกัน เพียงแต่สนับสนุนโหมด RGB

PNG

ถูกออกแบบมาเพิ่มเติมคุณสมบัติที่ไม่มีของ GIF format และยังมีรายละเอียดใกล้เคียง TIFF format แต่มีขนาดของไฟล์ที่เล็กกว่า

TGA

TGA (Targa)เป็นรูปแบบซึ่งออกแบบมาสำหรับการใช้ Truevision video board และโปรแกรมทั่วๆไปสนับสนุนภาพทุกชนิด

TIF

TIFF เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับ bitmap เท่านั้น พัฒนาขึ้นโดยความร่วมของ Aldus Corporation และ Microsoft TIFF เก็บบันทึกข้อมูลรูปภาพได้หลากหลายใน Tagged Field จึงกลายเป็นชื่อเรียกของรูปแบบไฟล์ ซึ่งแต่ละ Tagged Field สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ bitmap หรือชี้ไปยัง Field อื่นได้ ซอฟต์แวร์ที่อ่านไฟล์นี้สามารถข้ามการอ่าน Field ที่ไม่เข้าใจหรือไม่จำเป็นไปได้
TIFF เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เนื่องจากมี Tagged Field ให้ใช้ต่างกันหลายร้อยชนิด ไฟล์แบบนี้จึงมีข้อดี คือ ใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกประเภท สามารถใช้ได้ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบ และกำหนดขอบเขตที่กว้างขวางของภาพ bitmap ได้ นอกจากนี้ TIFF ยังสามารถทำบางสิ่งที่ bitmap อื่นทำไม่ได้ และเป็นรูปแบบที่สนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh Tagged Image File Format นามสกุลที่ใช้เก็บ TIF ความสามารถทางด้านสี ขาวดำ 1 บิต , Grayscale (4,8, 16 บิต) , แผงสี (ได้ถึง 16 บิต) , สี RGB ( ได้ถึง 48 บิต) , สี CMYK ( ได้ถึง 32 บิต) การบีบขนาดข้อมูล LZW, PackBits (Macintosh), JPEG (TIFF v 6.0), RLE หลายรูปแบบ
 

WMF

WMF ไฟล์ WMF นี้มีข้อเสียคือ ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการเก็บภาพ แสดงภาพได้ไม่ถูกต้อง แต่สามารถใช้ได้ทั้งกับโปรแกรมแบบเวกเตอร์และแบบบิตแมป

Photo Resizer 01 : การปรับขนาดภาพ

การปรับขนาดภาพด้วย Photo Resizer

บ่อยครั้งที่ผมเข้าเว็บบอร์ดต่างๆ แล้วเห็นโพสภาพกันใหญ่มากๆ บางทีก็ล้นจอจนดูไม่ได้ แล้วยังโหลดช้าอีก (เศร้า) วันนี้จึงอยากจะแนะนำโปรแกรมปรับแต่งขนาดภาพ ที่มีให้ใช้กันฟรีๆ ที่มีให้ใช้หลากหลายโปรแกรม ตัวแรกจะแนะนำโปรแกรม “FastStone Photo Resizer” ที่โปรแกรมค่อนข้างเล็ก และใช้งานง่าย เผื่อทำให้ทุกคนเล่นเว็บบอร์ดได้สนุกมากขึ้น แล้วจะทำให้คุณรู้ว่า ทำงานคอมพิวเตอร์กราฟิก ไม่ยาก แล้วไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมลิขสิทธิ์ ที่เสียตังค์อีกด้วย


เืลือกเปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ โดยคลิกเลือกโฟล์เดอร์ เลือกภาพ แล้วคลิกปุ่ม Add เพื่อเพิ่มภาพ

จากนั้นคลิกปุ่ม " Advanced Option " เพื่อกำหนดขนาดภาพตามต้องการ

สังเกตุว่าโปรแกรมจะมีขนาดสำเร็จรูปให้เลือกอยู่แล้ว

ทำความเข้าใจขนาดภาพ
ในการแสดงผลของ OS (Window , OS X , Linux ) ทุกระบบ เราสามารถกำหนดขนาดการแสดงผล ให้เหมาะสมกับ จอที่ใช้ได้ โดยหาที่ Display Setting
ถ้าเราเลือกปรับขนาดภาพใหญ่มากไป ก็จะแสดงผลล้นหน้าจอไปด้วย เราจึงพอสรุปความละเอียดหน้าจอได้ดังนี้
จอ CRT 14" ขนาด 800 x 600 pixel
จอ CRT 15" ขนาด 1024 x 768 pixel
จอ LCD 14 - 15" ขนาด 1024 x 768 pixel
จอ LCD 17" ขนาด 1280 x 1024 pixel
จอ LCD 19" Widescreen 1440 x 900 pixel
จอ Notebook 14 - 15" Widescreen ขนาด 1280 x 800 pixel